ชื่อโดเมนเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป
อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่เล็กถือว่าเหมือนกัน
1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลาย ๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้
ตัวอย่าง
ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง ยูอาร์แอล (URL) โดเมนเนม และ ซับโดเมน
ยูอาร์แอล: http://www.example.com/
ชื่อโดเมน: example.com
ซับโดเมน : subdomain.example.com
โดยทั่วไป ไอพีแอดเดรสกับชื่อเซิร์ฟเวอร์มักจะแปลงกลับไปมาได้ 1 ไอพีแอดเดรสมักหมายถึง 1 ชื่อเซิร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบัน ความสนใจในเรื่องเว็บ ทำให้จำนวนเว็บไซต์มีมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ โพรโทคอล HTTP จึงระบุว่าไคลเอนต์จะเป็นผู้บอกเซิร์ฟเวอร์ว่าชื่อใดที่ต้องการใช้ วิธีนี้ 1 เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ 1 ไอพีแอดเดรสจะใช้โดเมนเนมได้หลายชื่อ
ยกตัวอย่าง เซิร์ฟเวอร์ที่มีไอพี 192.0.34.166 อาจจะใช้งานโดเมนเนมเหล่านี้ได้:
example1.com
example2.net
example3.org
เมื่อมีคำร้องขอ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชื่อโฮสต์ก็จะถูกร้องขอเช่นกัน เพื่อส่งไปยังผู้ใช้
การจดทะเบียนชื่อโดเมน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- การจดทะเบียนโดเมนระดับบนสุดตามหมวด เช่น .com, .net, .org เป็นต้น
- การจดทะเบียนโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ เช่น .th สำหรับประเทศไทย
- ความยาวของชื่อโดเมนตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
- สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
- ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้
- ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อโดเมน
- ห้ามเว้นวรรคในชื่อโดเมน
ที่มา : th.wikipedia.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น